|

เกษตรฯ แจกเชื้อราไตรโคเดอร์มา ฟื้นฟูสวนหลังน้ำท่วม พร้อมมอบต้นพันธุ์พืชผักสวนครัว ส่งความสุขปีใหม่ ให้เกษตรกร

      3DF892EF-F9C5-4E95-92F0-D507E7D8237C       นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ดินสไลด์ และวาตภัยในพื้นที่ภาคใต้ช่วงวันที่ 25 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎรเสียหาย  ซึ่งนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรงอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้สั่งการไปยังเกษตรจังหวัดทุกจังหวัดที่เกิดภัยพิบัติ เร่งให้การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรโดยด่วน

       จากการสำรวจพบว่าเกษตรกรประสบภัยพิบัติด้านพืช จำนวน 8 จังหวัด 77 อำเภอ509 ตำบล 3,878 หมู่บ้าน ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรังปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน 265,360 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรคาดว่าจะเสียหายรวม 744,571 ไร่ จำแนกเป็นข้าว 114,341 ไร่ พืชไร่ 11,353 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 618,877 ไร่ ทั้งนี้กรมส่งเสริมการเกษตรมีแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร ดังนี้

       1.การฟื้นฟูสวนและการดูแลพื้นที่เกษตรหลังน้ำลด โดย 1.1 ทำการเสริมคันดิน ให้มีความสูงและความแข็งแรง ต้านทานน้ำจากภายนอก 1.2 ทำทางระบายน้ำโดยใช้พลั่วดึงเศษพืช และดินเลนทับถมออกให้หมดและขุดร่องระบายน้ำให้ลึกเพื่อช่วยให้ดินในสวนไม้ผลแห้งเร็วยิ่งขึ้น 1.3 การปรับปรุงบำรุงดิน นั้นมีหลักการ ดังนี้ 1) ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ห้ามนำเครื่องจักรกลเข้าไปดำเนินการในสวนหลังน้ำลด รวมทั้งบุคคลและสัตว์เลี้ยง เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลาย 2) เมื่อดินแห้ง ให้ขุดเอาดิน ทราย หรือตะกอนต่างๆ ในแปลงออก และพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำการค้ำยัน/พยุงต้นไม้ผลที่เอนหรือล้ม โดยใช้ไม้ยาวๆ ค้ำ หรือใช้เชือกผูกตรึงกับต้นไม้ ทำการตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่มหลังน้ำลด เมื่อดินเริ่มแห้งเกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่มออก จะทำให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นวิธีที่จะช่วยลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้นหากมีต้นไม้โค่นล้ม ควรทำการตัดแต่งกิ่ง และนำไม้ค้ำยันต้นไว้รอบด้าน หรือหากต้นไม้มีผลติดอยู่ ให้ตัดผลออก เพื่อไม่ให้แย่งสารอาหารจากรากและลำต้นได้        676306AF-6CF0-4896-9ACF-9574D5554DB7        การฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้นไม้ โดยการให้ปุ๋ยทางใบ อาจใช้ปุ๋ยสูตรน้ำ 12-12-12 หรือ12-9-6 หรือใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 หรือ 16-21-27 ละลายน้ำฉีดพ่น ทำการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใส่ในร่องที่ขุดดินรอบๆ ทรงพุ่ม ขนาดร่องกว้าง 15 เซนติเมตร ลึก 15 เซนติเมตร หรือใส่ที่โคนใต้ต้น ในกรณีที่ต้นยังเล็ก 1.4 การป้องกันและกำจัดโรค/ศัตรูพืช โดยวิธีการราด หรือทาโคนต้นไม้ด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา หรือสารชีวภัณฑ์ เช่น ไตรโครเดอร์มา 1.5 การปลูกซ่อมแซมเพื่อทดแทนหากพบว่ามีต้นไม้ที่ยืนต้นตายไปบางส่วนและควรจัดการสวนให้ ถูกวิธีอย่างต่อเนื่อง

      2.กรณีเสียหายโดยสิ้นเชิง กรมส่งเสริมการเกษตรยึดหลักปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน.. 2562 โดยมีหลักเกณฑ์ช่วยเหลือเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรไว้ก่อนเกิดภัย ตามจำนวนพื้นที่จริงที่ได้รับความเสียหาย รายละไม่เกิน 30 ไร่ ได้แก่ ข้าว อัตราไร่ละ 1,113 บาท พืชไร่ อัตราไร่ละ 1,148 บาท และพืชสวนและอื่นๆอัตราไร่ละ 1,690 บาท ทั้งนี้ เมื่อเกิดภัยพิบัติ และผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเขตพื้นที่การให้ความช่วยเหลือฯ เกษตรกรต้องยื่นแบบความจำนงขอรับการช่วยเหลือ(กษ 01) โดยให้ผู้นำรับรอง ก่อนจะมีการตรวจสอบทะเบียนเกษตรกร และพื้นที่เสียหายจริง เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป

8D253814-ECA7-490D-8EE2-5AFA5F480527       และขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรได้พัฒนาระบบสำหรับบันทึกข้อมูลการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติขึ้นใหม่ ทันสมัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อจะได้นำข้อมูลให้คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (....) และ คณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (....) รับรอง และส่งข้อมูลให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรโอนเงินช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรต่อไป และมอบเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุม กำจัดโรคพืชที่มากับน้ำ และจะช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรง

         3. การส่งเสริมอาชีพในระยะสั้น เช่น การมอบพันธุ์พืชผักสวนครัว เพื่อให้เกษตรกรเพาะปลูกเป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ช่วงฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร  ECC45C1E-D716-4DF0-ADB5-FAA179C0F199       สำหรับกิจกรรมวันนี้เป็นการส่งมอบความสุข ก้าวสู่เกษตรวิถีใหม่ และให้กำลังใจพี่น้องเกษตรกร ซึ่งประสบภัยพิบัติในพื้นที่อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการมอบเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุม กำจัดโรคพืชที่มากับน้ำ และช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรง และมอบพันธุ์พืชผักสวนครัวระยะสั้น ทั้งนี้ในการผลิตพืช  แต่ละชนิดเกษตรกรควรวางแผนให้เหมาะสม และมีข้อมูลเพื่อประกอบการผลิตที่ชัดเจน พื้นที่ใดเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปี ควรมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่โดยการขุดคู ยกร่องและปลูกพืชที่เหมาะสม ที่สำคัญเกษตรกรต้องแจ้งขึ้นและปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน เพราะจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการพัฒนาการเกษตรและสิทธิที่เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือตามมาตรการต่างๆ ของภาครัฐต่อไป

      วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้สนับสนุนพันธุ์พืชผัก ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สนับสนุนเชื้อราไตรโคเดอร์มารวมถึงหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในครั้งนี้ และในพื้นที่อีก 7 จังหวัด ก็จะมีการดำเนินการในลักษณะเดียวกันนายสุพิท กล่าวทิ้งท้าย

B3EBEA82-E8F8-409F-948B-BCC397107C94

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=62648

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us