|

เลขาธิการ ศอ.บต. หารือแก้ปัญหาแรงงานไทยใน จชต. ที่พร้อมจะกลับไปทำงานมาเลเซีย เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง

5D5CBE7F-26A4-41C0-BDC4-C9304DB6B94F            เมื่อวันทึ่ 28 เมษายน 2564 เวลา 14.00 . ที่ห้องประชุมเจริญจิตต์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไปทำงานมาเลเซีย โดยมีนายชัยณรงค์ กีรติยุตวงศ์ เอกอัครราชทูต กรุงกัวลาลัมเปอร์ และ นายมงคล สินสมบูรณ์ กงสุลใหญ่ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

            สำหรับที่มาของการประชุมในครั้งนี้สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไปทำงานในมาเลเซีย จึงทำให้มีพี่น้องประชาชนบางส่วนเดินทางกลับภูมิลำเนากว่า 30,000 คนการประชุมครั้งนี้จึงเป็นการหารือเพื่อหาแนวทางเร่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานไทยที่ต้องการกลับไปทำงานยังประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขออนุญาตกลับเข้าไปทำงานใหม่ และเข้าไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย         58127BB0-AC40-4DAC-86DA-85914009BBE6              พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เผยว่า วันนี้เป็นการรับฟังข้อคิดเห็นจาก สถานเอกอัครราชทูต กรุงกัวลาลัมเปอร์ และสถานกงสุลใหญ่ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานไทยที่จะไปทำงานในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบอนุญาตทำงานหรือ work permit โดยวันนี้ทาง ศอ.บต. มีข้อมูลในระบบของแรงงานไทยที่กลับมาจากประเทศมาเลเซียแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2563 จนถึงปัจจุบัน มียอดในระบบจำนวนกว่า 12,000 คน ซึ่งเป็นแรงงานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบางส่วนที่ยังคงอยู่ในประเทศมาเลเซีย สิ่งที่ ศอ.บต. ได้เข้าไปช่วยเหลือนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านนายกรัฐมนตรี และท่านรองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการมายัง ศอ.บต. เสมอว่าให้ดูแลพี่น้องประชาชนให้ดีที่สุด และห้ามทิ้งใครไว้ข้างหลังดังนั้น ศอ.บต. ได้ดำเนินการสำรวจผู้ที่กลับมาจากประเทศมาเลเซียโดยละเอียด พยายามหาช่องทางการทำงานให้แก่บุคคลดังกล่าวให้ได้โดยเร็ว โดยเฉพาะหลายโครงการที่ทาง ศอ.บต. ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การปลูกพืชระยะสั้น ปลูกไผ่เศรษฐกิจ การเลี้ยงปูทะเล และโครงการต่าง ทาง ศอ.บต. ได้พยายามดึงเข้ามาสู่ชุมชน และส่วนที่ 2 นั้น ก่อนที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะระบาดระลอกใหม่นั้น ทาง ศอ.บต. ได้นำแรงงานดังกล่าวไปทำงานที่จังหวัดเพชรบุรี กว่า 1,000 คน และส่งไปยังโรงงานในพื้นที่อำเภอจะนะ และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาอีกกว่า 1,000 คน      B0E961FA-07D8-4773-9171-E49A086B07FD             และส่วนที่ 3 ในครั้งนี้ได้เร่งหารือกันว่า เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายตัวลงแล้ว ทางมาเลเซียต้องการแรงงานจากประเทศจำนวนมากเพื่อไปเป็นแรงงานภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะเรื่องของปาล์มน้ำมัน และยางพารา ที่ผ่านมาประเทศมาเลเซียใช้แรงงานจากต่างประเทศ อาทิ ประเทศพม่า เนปาล กำบูชา รวมถึงประเทศไทย แต่ครั้งนี้ เมื่อผลผลิตได้เริ่มออกมาแล้ว แต่ยังขาดแรงงานจำนวนมาก จึงต้องหารือว่า ส่วนหนึ่งต้องนำแรงงานจากประเทศไทย ให้เข้าไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อวางแนวทางที่จะนำแรงงานดังกล่าวไปทำงาน เมื่อทางประเทศมาเลเซียพร้อมที่จะนำแรงงานเข้าไปทำงาน โดยทาง ศอ.บต. จะต้องทำข้อมูลให้พร้อมว่าเมื่อแรงงานจากประเทศไทยเข้าไปยังประเทศมาเลเซียแล้วจะต้องทำงานอย่างไร จะอยู่อย่างไร มีที่พักอาศัยหรือไม่ ค่าตอบแทนเท่าไหร่ รวมถึงสวัสดิการเป็นอย่างไร ดังนั้น ศอ.บต. จะต้องเตรียมความพร้อม โดยลงไปสำรวจแรงงานที่เคยทำงานครั้งที่แล้ว และนำสอบถามอีกครั้งว่ามีความสนใจมากน้อยเพียงใด และกลับเข้ามาสู่กระบวนการอบรมให้ความรู้พัฒนาทักษะฝีมือเพิ่มเติม โดยศอ.บต. จะต้องเพิ่มความรู้ให้มากกว่าเดิม เพื่อเป็นประโยชน์แก่แรงงานทุกคนที่จะกลับไปทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ

6EB2D785-444D-4C7E-BE28-2A129497CE06

6972ED85-27BA-4125-9D4E-754ED914CCEF

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=65473

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us