|

แบงก์ชาติทแถลงภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567

แบงก์ชาติทแถลงภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2567

เศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาส 1 ปี 2567 ขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนตามการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัว อานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อการจ้างงานและรายได้แรงงานในภาคบริการอย่างไรก็ตาม กำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรที่เปราะบาง ยังกดดันการบริโภค ขณะที่การผลิต หดตัวตามอุปสงค์คู่ค้าที่ชะลอ สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวตามการนำเข้าสินค้าทุน

รายได้เกษตรกร กลับมาขยายตัว

         จากรายได้ยางพารา ตามราคายางที่ขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตที่ออกน้อยกว่าปกติ ตามการระบาดของโรคใบร่วง สภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติ และฝนสะสมที่น้อยตั้งแต่ปีก่อน ขณะที่รายได้จากปาล์มน้ำมันและกุ้งยังคงหดตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัว

          จากการผลิตยางพาราแปรรูปโดยเฉพาะยางผสมที่หดตัวตามคำสั่งซื้อของจีนที่ชะลอในช่วงราคายางสูง รวมถึงน้ำมันปาล์มดิบลดลงตามวัตถุดิบและอากาศร้อนแล้ง ด้านการผลิตไม้แปรรูปหดตัวตามคำสั่งซื้อของจีนที่เร่งไปมากในช่วงก่อนหน้า

ภาคบริการท่องเที่ยว ขยายตัวต่อเนื่อง

        จากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวในหลายสัญชาติ ทั้งจีน มาเลเซีย ยุโรป ตามอุปสงค์การท่องเที่ยวที่ยังมีต่อเนื่อง จำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอานิสงส์จากมาตรการฟรีวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจีน ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยขยายตัวต่อเนื่อง

        การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวเล็กน้อย

          จากปัจจัยสนับสนุนช่วงเทศกาลและมาตรการภาครัฐในช่วงต้นไตรมาส ส่งผลให้การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว สอดคล้องกับการใช้จ่ายบริการเพิ่มขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าคงทนลดลงมาก โดยเฉพาะรถบรรทุกส่วนบุคคล

การลงทุน หดตัว

          การลงทุนภาคเอกชน หดตัวจากด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ด้านการลงทุนก่อสร้างหดตัวเล็กน้อย ตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโรงแรมในพื้นที่ท่องเที่ยวที่เร่งไปในช่วงก่อนหน้า การลงทุนภาครัฐ หดตัวต่อเนื่องจากหมวดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามงบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า

การค้าผ่านด่านศุลกากร หดตัว

        การส่งออก หดตัวจากตลาดจีนในสินค้ายางพาราแปรรูปหมวดยางผสมเป็นหลัก อีกทั้งสงครามทะเลแดงทำให้การขนส่งล้าช้าในบางสินค้า เช่น ไฟเบอร์บอร์ด การนำเข้า หดตัวจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้า รวมถึงสินค้าทุนหมวดเครื่องจักร และมาตรวัดที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อ ลดลง ตามราคาอาหารสด ผลจากอุปทานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปลายไตรมาสเริ่มเห็นเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น

ตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง

          ตามภาคท่องเที่ยวที่ขยายตัว จากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยว สะท้อนจากจำนวนผู้ประกันตน ม.33 ที่ปรับดีขึ้น เช่นเดียวกับความต้องการแรงงานตามตำแหน่งเปิดรับใหม่ที่มีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ท่องเที่ยวหลักยังคงมีอยู่ ด้านแรงงานภาคผลิตทรงตัว และภาคก่อสร้างชะลอ

แนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 2/2567

          คาดว่า “ขยายตัวเล็กน้อย” ตามแรงส่งภาคท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากปัจจัยหนุนเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลดีต่อตลาดแรงงานและการอุปโภคบริโภค อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรช่วยพยุงการใช้จ่ายได้ไม่มากนัก เนื่องจากผลผลิตได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศร้อนแล้ง สำหรับภาคการผลิตและส่งออกคาดว่าปรับดีขึ้น

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=87819

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us