|

“Sleepmore” แอปพลิเคชันคัดกรองผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดย ม.สงขลานครินทร์

595520B0-EF5F-41D1-8F45-08ADCEF6589Aมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์คิดค้นแอปพลิเคชัน “Sleepmore” เพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเชิงรุก ชูจุดเด่นการใช้แบบสอบถามในการคัดกรองและเหมาะสมกับคนเอเชีย พร้อมผลักดันขยายสู่ชุมชน ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย

            ผศ. พญ.กรองทอง ถาวรานุรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโสต ศอ นาสิกวิทยาผู้อำนวยการศูนย์บริการตรวจรักษาและวิจัยปัญหาการนอน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันอัตราการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในประเทศไทย พบถึงร้อยละ 11 ของประชากรวัยกลางคน ช่วงอายุ30 – 60 ปี พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และคนอ้วนมีโอกาสเป็นมากกว่าคนผอม

           โดยคณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันภายใต้ชื่อ “Sleepmore” เพื่อเป็นตัวกลางในการคัดกรองเชิงรุกเพื่อหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ต้องการให้ประชาชนเกิดความตระหนัก เข้าใจโรค ตลอดจนให้คำแนะนำในการดูแลตนเองเบื้องต้นอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ผู้ป่วยจะนอนกรนเสียงดังไม่สม่ำเสมอกัน ดังๆหยุดๆ มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวัน หากไม่ได้รับการรักษา และปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีอาการของการนอนที่ไม่มีคุณภาพเรื้อรัง ไม่สดชื่น ง่วงนอนกลางวัน ส่งผลต่อการทำงาน สมาธิ ความจำ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานสูง       D4F9D987-62C6-4C20-9703-2DBC155AF3BA              นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคภาวะหลอดเลือดและหัวใจสูงขึ้นเช่น ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ฯลฯ การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นมีหลายวิธี ได้แก่ การลดน้ำหนัก การปรับท่านอน การปรับวิถีชีวิตและสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี การใช้ยา การใส่ครอบฟัน การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ซึ่งปัจจุบันการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกในขณะหายใจเข้าเป็นการรักษามาตรฐานของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

           อยากผลักดันแอปพลิเคชันสู่ชุมชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระดับตำบล อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์ประจำอำเภอ เพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และดำเนินการส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่สามารถตรวจรักษาการนอนต่อไปผศ. พญ.กรองทอง

            ด้าน รศ. ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า การคิดค้นแอปพลิเคชันเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลัง 1,000 คน ตั้งแต่การนอนอาการแสดงของโรค และผลตรวจที่ผิดปกติ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค และนำปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นสร้างเป็นโมเดล และสร้างเป็นแอปพลิเคชัน เพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

            แอปพลิเคชัน “Sleepmore” สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนทั้ง IOS และ Android มีความไวสูงถึงร้อยละ 93 ใช้รูปแบบการสอบถามจำนวน 6 ข้อ ในการคัดกรอง ซึ่งแบบสอบถามมีความเหมาะสมกับประชากรชาวเอเชีย นอกจากนี้ ยังมีวีดีโอกายบริหารระบบแจ้งเตือนการทำกายบริหาร และการแสดงคะแนนเพื่อบ่งบอกว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง และสูง หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงจะต้องได้รับการวินิจฉัย แต่หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำจะมีคำแนะนำในการดูแลตนเองเบื้องต้น ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความสำคัญของโรค การดูแลตนเองเรื่องการรักษาเสียงกรน ปรับสุขนามัยการนอนที่ดีและการออกกำลังกายกล้ามเนื้อช่วงคอ

            “Sleepmore เป็นแอปพลิเคชันที่มีความสะดวกสบาย เหมาะกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่ขับรถสาธารณะ และอาชีพที่ต้องใช้สมาธิกับเครื่องจักรกล ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำไปใช้ได้ด้วยตนเอง สามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายและสามารถพัฒนาเรื่องสุขภาพต่อไปได้รศ. ดร.สินชัย กล่าว

            ดาวโหลด App ได้ที่ https://pupanext.page.link/d6o5 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเฟสบุ๊กแฟนเพจ : ศูนย์บริการตรวจรักษาและวิจัยปัญหาการนอน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หรือ โทร. 074-451-363 ในวันเวลาราชการ

F3470F7D-9A13-436C-A4AB-6BAF0541B5D1

0D8F35C3-6B72-4188-864F-5AED1E65F5B4

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=65458

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us