|

กรมส่งเสริมการเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนและชุมชน

DB4669D9-AFA0-404F-8B3B-B2474674C1E4

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ข้อมูลว่า กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินงานโครงการส่งเสริมเคหกิจเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนและชุมชน มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกร มีความมั่นคงด้านอาหารและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีการร่วมกันวิเคราะห์พื้นที่ในชุมชน สอบถามความต้องการในการปลูกพืช และจัดทำแผนการผลิตปลูกพืชผัก พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ชุมชนปลูกผักในแปลงรวมและตามบริเวณรอบบ้านของเกษตรกร โดยมีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเป็นแกนนำร่วมกับชุมชนในการสร้างแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสำหรับไว้บริโภคในครัวเรือน

07638F41-74BF-40C2-8F8F-EDE5BF8DE0FB

ทั้งนี้ การจะเข้าถึงความมั่นคงทางอาหารได้นั้น ต้องประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ 1. การมีอาหาร (Food Availability) หมายถึง การมีอาหารในปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพที่เหมาะสม 2. การเข้าถึงอาหาร (Food Access) หมายถึง การเข้าถึงทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อการหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม 3. การใช้ประโยชน์ (Food Utilization) หมายถึง การใช้ประโยชน์จากอาหารในการบริโภค โดยมีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีน้ำสะอาดในการบริโภคอุปโภค มีสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพที่ดี ทำให้ความเป็นอยู่ทางกายภาพได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ เพื่อให้อยู่ในสถานภาพที่ได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ดีและบรรลุความต้องการทางกายภาพ 4. เสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability) หมายถึง ประชาชน หรือครัวเรือน หรือบุคคลต้องเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอตลอดเวลา ไม่มีความเสี่ยงในการเข้าถึงอาหาร เมื่อเกิดความขาดแคลนขึ้นมาอย่างกะทันหัน

C3641ACD-BFC2-4AA0-9BC8-C88E95ED0F68

นายสุพิท จิตรภักดี เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้านอาหารมาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2563 ได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมเคหกิจเกษตรเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือนและชุมชน ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 14 จุด ส่งผลให้ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีแหล่งอาหารที่มีคุณภาพ มีผักสวนครัวที่ปลอดภัยจากสารพิษบริโภคในชุมชน และได้ขยายผลโครงการไปยังชุมชนต้นแบบของจังหวัดสตูล จำนวน 1 จุด จากสถานการณ์โควิด – 19 กำลังระบาด หลายจังหวัดสั่งปิดเมือง หลายคนถูกพักงานไม่มีเงินเดือน ร้านค้าและตลาดถูกปิดทำการ ซื้อของกินของใช้ยากขึ้น ทำให้ในหลายพื้นที่ขาดแคลนอาหาร แต่ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการนี้สามารถผลิตพืช ผลิตอาหาร สามารถสร้างความมั่นคงด้านอาหารในชุมชนของตนเองได้ แม้จะเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งสถานการณ์การเกิดโรคระบาดโควิด-19

4E1202D0-738C-49C4-9078-B5B26783FACC5F56E864-CD7F-42B5-87EA-3464273C98DECD9131D1-757F-404E-8C54-09D4B7BF1F2BBF8FA9B2-BF37-4482-8A8E-2CC77226857D490267B0-C0B1-46B9-B2D4-22F6ED4FCEAC68977990-B89F-49B1-B75C-E8E261A4F9B2

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=55504

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us