|

จังหวัดสงขลา ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมและ ปตท.สผ. กับ ปตท.สผ.อีดี จัดทำโครงการสนับสนุนเครือข่ายเยาวชนและชุมชน ร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมระดับอาเซียน ร่วมกับสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จังหวัดสงขลา ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมและ ปตท.สผ. กับ ปตท.สผ.อีดี จัดทำโครงการสนับสนุนเครือข่ายเยาวชนและชุมชน ร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมระดับอาเซียน ร่วมกับสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

            วันนี้ (28 ก.พ.2567) เวลา 16.00 น. ที่โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น ถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ทางจังหวัดสงขลา ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมและ ปตท.สผ. กับ ปตท.สผ.อีดี จัดทำโครงการสนับสนุนเครือข่ายเยาวชนและชุมชน ร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมระดับอาเซียน ร่วมกับสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  และ ซานคาลอสประเทศฟิลิปปินส์ โดยมี ท่านนูนุงร์ นูรวูลัน  กงสุล ประจำกรมการกงสุลอินโดนีเซีย จังหวัดสงขลา เข้าร่วมฟังเยาวชนนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของเมืองสงขลาด้วย                     นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดีที่ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม ร่วมกับสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEACHA (Southeast Asia Cultural Heritage Alliance) จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปของนักศึกษา  ภายใต้โครงการเพื่อสังคมด้านวัฒนธรรมของ (โครงการสงขลาสู่เมืองมรดกโลก) ของ ปตท.สผ. และ ปตท.สผ.อีดี ในครั้งนี้ นับเป็นงานระดับนานาชาติที่มีประโยชน์แก่จังหวัดสงขลาเป็นอย่างมาก  จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และระดมความคิดเห็นจากเครือข่ายอาจารย์และเยาวชนนักศึกษาจากหลายศาสตร์วิชา จากมหาวิทยาลัยรวม   6 แห่ง ได้แก่  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งอาจารย์และนักศึกษาจำนวนประมาณ 50 คน การถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับอาเซียน ก่อนส่งนักศึกษาลงพื้นที่สำรวจเมืองร่วมค้นหาคุณค่าความสำคัญและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น หรือ (OUV) ของเมืองเก่าสงขลาและเมืองสิงหนคร นับว่าเป็นงานใหญ่ที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องตามคำสั่งจังหวัด ที่ให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาสงขลาสู่เมืองมรดกโลก เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลาและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ยกระดับสู่การเป็นเมืองมรดกโลก ร่วมกับการส่งเสริมเยาวชนและชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้ และตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

            รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวต่อว่า จากการร่วมรับฟังการนำเสนอของเยาวชนในหัวข้อคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลของจังหวัดสงขลา หรือ  OUV (Outstanding Universal Value) พลังชุมชนและเมืองมรดกที่ยั่งยืน เห็นได้ชัดว่ากิจกรรมในครั้งนี้ เกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกิดเครือข่ายเยาวชนและนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน สร้างการรับรู้ในการร่วมขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองมรดกโลก และรวมกันเป็นเครือข่ายอนุรักษ์เมืองเก่าตามหลักวิชาการต่อไป                     ด้านนายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครสงขลา กล่าวว่า การเลือกเมืองเก่าสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีมาก  เนื่องจากเมืองเก่าสงขลาประกอบด้วยย่านต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ทางพหุวัฒนธรรมที่ซับซ้อน และมีความโดดเด่นไปพร้อมกัน ทั้งด้านสถาปัตยกรรม อาหารการกิน มีลักษณะเด่นเป็นย่านๆ เช่น ย่านมุสลิมบ้านบน ย่านคนจีนแถวถนนนางงาม และย่านวัดแถบถนนไทรบุรี ที่ผนวกอยู่ร่วมกันในขอบเขตกำแพงเมืองเก่า การอยู่รวมกันในพื้นที่เมืองเล็กๆ ที่มีความหลากหลายดังกล่าวได้หล่อหลอมให้คนในเมืองสงขลา มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดส่งต่อวัฒนธรรมจนก่อเกิดวัฒนธรรมใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะสะท้อนออกมาเป็นอัตลักษณ์ของสงขลา ดังปรากฏในเรื่องอาหารการกิน เครื่องแต่งกายและสถาปัตยกรรม ที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่นนับร้อยปี ประกอบกับเทศบาลนครสงขลาได้มีกฎหมายปกป้องและคุ้มครองพื้นที่เมืองเก่า โดยการควบคุมประเภทของกิจกรรมในพื้นที่และความสูงอาคารที่ให้สูงไม่เกิน 9.50 เมตร  แสดงถึงความตั้งใจในการบริหารจัดการพื้นที่ และยังอยู่ระหว่างการเตรียมพัฒนาเพิ่มเติมในระยะต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นเมืองมรดกโลก

              ด้าน ดร.จเร สุวรรณชาต รองนายกภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม กล่าวว่า กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการและการค้นหาคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลของจังหวัดสงขลา เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ร่วมค้นหานำเสนอจุดเด่นสำคัญของเมือง พร้อมเวิร์คช็อปจัดการเส้นทางท่องเที่ยวที่เน้นสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในครั้งนี้  นอกจากจะเป็นครั้งแรกที่ความคิดเห็นของเยาวชนถูกนำเสนอให้ผู้บริหารระดับจังหวัดรับฟัง เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาที่สอดคล้องกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะเป็นผู้สานต่อการพัฒนาเมืองในอนาคต แล้ว และยังเป็นการจุดประกายสร้างการรับรู้แก่สาธารณะในวงกว้างผ่านมุมมองของเยาวชนคนรุ่นใหม่   และ จะเป็นการถ่ายทอดบทเรียนจากเมืองซีอัคประเทศอินโดนีเซียและเมืองซานคาร์ลอสประเทศฟิลิปปินส์ภายใต้ความร่วมมือ โครงการ  SEACHA อีกด้วย

 

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=86560

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us