|

“ถ้ำเลสเตโกดอน” ทุบสถิติความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์ถ้ำสูงสุดในไทย

9D70734E-5D9C-47E6-ABFE-237DF128F691นักวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุ ถ้ำเลสเตโกดอน .ทุ่งหว้า .สตูล มีความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตสูงสุดในประเทศไทย 129 ชนิด ทำลายสถิติของถ้ำภูผาเพชร ที่มีรายงานก่อนหน้านี้ 94 ชนิด และยังค้นพบสิ่งมีชีวิตในถ้ำอุทยานธรณีโลกสตูล ที่คาดว่าเป็นชนิดใหม่ 3 ชนิด อยู่ระหว่างการตรวจสอบ           D21AF862-5955-4A6E-B105-4CA4E437EA66               จากการลงพื้นที่ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตในถ้ำของอุทยานธรณีโลกสตูล ภายใต้โครงการการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของสิ่งมีชีวิตในถ้ำในอุทยานธรณีโลกสตูล เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนโดยความร่วมมือของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารีและศูนย์แม่ข่ายประสาน อพ.สธ. ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และวิทยาลัยชุมชนสตูลโดยการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 8 – 10 มี.. 64 ที่ผ่านมานั้น         7F223EB8-6645-4D5E-82C4-F8DAFBDFB79E               ดร.พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในถ้ำเป้าหมายจำนวน 3 ถ้ำ ได้แก่ ถ้ำเลสเตโกดอน (อำเภอทุ่งหว้า) ถ้ำอุไรทอง และถ้ำทะลุ (อำเภอละงู) พบว่า ถ้ำเลสเตโกดอน มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด โดยสำรวจพบสัตว์มีกระดูกสันหลัง 34 ชนิด สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 95 ชนิด รวม 129 ชนิด ซึ่งได้ทำลายสถิติของถ้ำภูผาเพชรที่มีรายงานความหลากหลายทางชีวภาพจำนวน 94 ชนิด ทั้งนี้ ตัวเลขของการศึกษารวมชนิดสัตว์ที่พบทั้งในถ้ำ บริเวณปากถ้ำ และขอบนอกของตัวภูเขาหินปูนด้วยอย่างไรก็ตาม สัดส่วนสิ่งมีชีวิตที่พบนอกถ้ำถือว่าน้อยมาก สามารถยืนยันชัดเจนว่าถ้ำเลสเตโกดอนมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากกว่าถ้ำภูผาเพชรแน่นอน เนื่องจากถ้ำเลสเตโกดอนมีน้ำลอด ทีมวิจัยได้สำรวจตั้งแต่ใต้ท้องน้ำ พื้นถ้ำ และเพดานถ้ำ เนื่องจากถ้ำเลสเตโกดอนมีน้ำลอด รวมทั้งเชื่อมไปยังทะเลเปิดข้างนอก มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ดังนั้น ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตจะมีทั้งสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ตลอดจนสัตว์ถ้ำที่อยู่ตามพื้นถ้ำ และเพดานถ้ำ เป็นปัจจัยที่ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เมื่อเทียบกับถ้ำอุไรทองและถ้ำทะลุ ซึ่งไม่มีน้ำผ่าน และเป็นถ้ำที่สั้นมาก จึงทำให้สำรวจพบสิ่งมีชีวิตน้อยมาก          3CEC45E5-45E6-489B-A72C-57AF5B932FD8              นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังสำรวจพบ แมลงสาบทะเล สกุล Cirolana ที่ถ้ำเลสเตโกดอน แมลงหางดีด ที่ถ้ำอุไรทอง และมดคอยาว ที่ถ้ำทะลุ ซึ่งคาดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบและตั้งชื่อ รวมทั้งยังสำรวจพบค้างคาวหน้ายักษ์กุมภกรรณ ซึ่งเป็นค้างคาวเฉพาะถิ่นของไทย พบในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น และยังไม่มีรายงานการสำรวจพบที่จังหวัดสตูล             C98F0023-77B6-41FD-8157-39C89611D4B1          ดร.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่ได้จะนำไปสนับสนุนการประเมินของยูเนสโก เป็นฐานข้อมูลและองค์ความรู้แก่ชุมชน เพื่อนำไปต่อยอดในการถ่ายทอดเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตภายในถ้ำ เป็นวัตถุดิบแก่ไกด์ท้องถิ่นเพื่อดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวนอกเหนือจากการเล่าเรื่องของถ้ำ เป้าหมายต่อไปคาดว่าจะจัดให้มีการฝึกอบรมมัคคุเทศก์รุ่นเยาว์ ส่งเสริมด้านภาษาอังกฤษและภาษามาลายู เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวมากขึ้นโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ตลอดจนการผลิตสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ข้อแนะนำในการเที่ยวถ้ำ โดยรบกวนสิ่งมีชีวิตภายในถ้ำน้อยที่สุด เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และยังคงร่วมกับอุทยานธรณีโลกสตูล และ สวทช. เดินหน้าลงพื้นที่ศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตต่อไป

            สิ่งสำคัญคือการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตและถ้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ชุมชนนำไปสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ชุมชนยังคงใช้ประโยชน์ต่อไป และทรัพยากรไม่ถูกทำลาย นี่คือเป้าหมายสูงสุดดร.พิพัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

020E6575-B795-424B-A3D7-41CB891F72E5

9E56DF20-309F-4493-9CDE-BB752E717675

031E7D7B-02E2-4631-AA16-7E06E2C46394

FC102024-3B40-4421-8058-55AB539134D3

302DF175-80EF-445C-8C78-66A3D29AEB39

D236C85C-847B-4D3E-BF2B-8608A03F766D

1D91F61A-E14F-4ABC-887B-503ED858D967

5D4269EF-B464-4E4D-ADB3-67BC2007765B

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=65694

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us