|

‘นิพนธ์’เยี่ยม บ้านศรัทธา อุทยานด้านการศึกษา อนุสรณ์สถานของปูชนีย์บุคคล “พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ “

7F5F2216-8AC0-40E4-8BB2-94B1529728D9บ้านศรัทธาเปรียบเสมือนอนุสรณ์สถานของปูชนีย์บุคคลอันประเสริฐที่จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้แซ่ซ้อง ชื่นชม และยึดเป็นแบบฉบับ

            นายนิพนธ์ บุญญามณี  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมบ้านศรัทธา บริเวณเชิงเขาเทวดาหรือเขาเทียมดา เขาที่สูงที่สุดของเมืองสงขลา ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมี นางสุรีย์พรรณ สงขลา รองผู้ว่าราขการจังหวัดสงขลา นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายก อบจ.สงขลา นายประพันธ์ ศรีสุวรรณ ปลัด อบจ.สงขลา และผู้บริหาร นายไชยพร นิยมแก้ว นายอำเภอเมืองสงขลา ร่วมติดตามตรวจเยี่ยมบ้านศรัทธา  ทั้งนี้บ้านศรัทธาเป็นบ้านที่ประชาชนในจังหวัดสงขลา ร่วมกันบริจาคเงินสร้างมอบให้แก่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งก่อนหน้านั้น นายนิพนธ์ บุญญามณี ครั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้มอบหมายให้กองผังเมืองมาดูแล ออกแบบปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบมาแล้วครั้งหนึ่ง และต่อมาได้มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออีกครั้ง ดังนั้นโอกาสนี้ ทางรมช.มท. จึงได้ติดตามเพื่อตรวจเยี่ยม การบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอครั้งล่าสุด  และที่สำคัญต้องการทำบ้านศรัทธาแห่งนี้ให้เป็นอุทยาน โดยการนำเฟื่องฟ้า หลากสีมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านศรัทธา เพราะถือเป็นต้นไม้สัญญาลักษณ์ของเมืองสงขลา และเพื่อที่จะรำลึกถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ได้ริเริ่มวางแนวคิดในการนำต้นเฟื่องฟ้ามาปลูกตลอดแนวถนนหน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา  โดยได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพดำเนินการ     F7AB60F5-B513-4B77-B62D-216C2C89D2AB            บ้านศรัทธาได้มาโดยกระแสศรัทธาแห่งความดีที่ประชาชนทั่วไปยกย่องยอมรับในคุณงามความดีที่พิสูจน์ได้ในชีวิตจริงของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์องคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน สามารถครองตน ครองคนครองงาน ด้วยความซื่อสัตย์ บริสุทธิ์ เสียสละ สามารถสร้างความเจริญมั่นคงให้กับประเทศชาติและประชาชนเป็นอย่างมาก จนเป็นที่ยอมรับทั้งประเทศและนานาอารยประเทศทั่วโลก

            บ้านศรัทธาเป็นบ้านที่รายล้อมด้วยสวนมะพร้าว สามารถมองเห็นทัศนียภาพไปถึงสะพานติณสูลานนท์ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร วิวโดยรอบสามารถมองเห็นทะเลสาบสงขลาและเกาะยอ บ้านที่ชาวสงขลาพร้อมใจกันสร้างเพื่อมอบให้กับฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2534 ประชาชน นักธุรกิจข้าราชการผู้มีความรักและศรัทธา ได้ร่วมกันทำพิธีมอบกรรมสิทธิ์บ้านศรัทธาให้แก่ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในวันที่ 26 สิงหาคม 2534          3F54941B-C19D-46B0-9F5D-2DD44AA92026             ต่อมาในปี .. 2539 เป็นปีมหามงคลสมัยวโรกาส ที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย และด้วยปณิธานอันแรงกล้าของ พณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษตั้งปณิธานอันแน่วแน่ว่าเกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณของแผ่นดินจึงประสงค์จะให้มีสิ่งก่อสร้างอันเป็นอนุสรณ์เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ด้วยการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาขึ้นที่จังหวัดสงขลา เพื่ออำนวยประโยชน์ด้านการศึกษาแก่ประชาชนในท้องถิ่นอันเป็นบ้านเกิดโดยมูลนิธิรัฐบุรุษพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้มอบงบประมาณจำนวน 40 ล้าน 1 แสนบาท พร้อมที่ดินบริเวณ บ้านศรัทธาจำนวน 5 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา มอบให้ กรมศิลปากรดำเนินการก่อสร้าง โดย พณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษเป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 เมษายน .. 2538 เวลา 15.19 .และเปิดบริการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมพ..2540 โดยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่าหอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา         730F89D3-0944-46BD-9089-8C5FFE7FBC69           บ้านหลังนี้อิฐ ดิน และหินทุกก้อน ส่วนประกอบทุกส่วนหล่อหลอมปั้นแต่งขึ้นมาจากอนุสติของความศรัทธาสูงสุดที่ปวงประชาชาวสงขลาผละผู้มีจิตศรัทธาทั่วทุกสารทิศ ที่มีต่อ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์  อดีตประธานองค์มนตรีและรัฐบุรุษของประเทศ ผู้ประพฤติ ปฏิบัติตน มั่นคง แน่วแน่ อยู่ในความซื่อสัตย์ สุจริต และประกอบคุณงามความดีแก่ชาติบ้านเมืองเป็นเอนกอนันต์

          บ้านศรัทธาจึงเปรียบเสมือนอนุสรณ์สถานของปูชนีย์บุคคลอันประเสริฐที่จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้แซ่ซ้อง ชื่นชม และยึดเป็นแบบฉบับของความซื่อสัตย์ดีงาม ด้วยความภูมิใจในความเป็นเอกบุรุษที่กำเนิดชาวสงขลา ชั่วกาลนาน

86DA5C8B-5FAA-4A02-B47D-ED6C171CDB3C

0CB0D6BB-82E2-469E-BB70-F3CAC6FFC1C5

A71D52DC-632C-48C1-9142-9E36DD40E049

DBF47898-93FE-4173-8CB6-ABF4F54E41ED

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=68520

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us