|

มทร.ศรีวิชัย สร้างเครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศ ส่งมอบชุมชน

C780AA3E-2A33-41E8-BA7B-6E1E0AFE4F41       คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช สร้างเครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศ ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับสถาบันไทยเยอรมัน ส่งมอบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลูกจันทน์เทศบ้านร่อนนา . ร่อนพิบูลย์ . นครศรีธรรมราช เพื่อใช้สำหรับการแปรรูปในระดับชุมชน สะดวกต่อการใช้งานลดแรงงาน เป็นการสร้างรายได้และสร้างงานให้กับชุมชนและเป็นการนำนวัตกรรมมาช่วยในการผลิตของชุมชน    F42E4A50-1892-420E-B60E-47E7CA6B0F22       ลูกจันทร์เทศ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จันทร์เทศโดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่ จันทร์เส้น จันทร์แช่อิ่ม จันทร์หยี จันทร์กวน โดยมีการจำหน่ายในชุมชนและได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับห้าดาว เป็นการก่อให้เกิดรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี จากการสำรวจความต้องการชุมชน พบว่าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปจันทร์เทศบ้านร่อนนา มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านการกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการปอกเปลือกลูกจันทร์เทศอาศัยแรงงานคนเป็นหลัก ซึ่งต้องใช้เวลาในการปอกเปลือกลูกจันทน์เทศมากและแรงงานหายาก        A22550B5-D7AE-4376-8ADE-FD06EE6A99DC         ผศ.พงษ์พันธ์ ราชภักดี อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ได้คิดสร้างนวัตกรรมเครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศ สำหรับการปอกเปลือกลูกจันทร์เทศ เพื่อนำไปแปรรูปผลิตภัณฑ์จันทร์เทศ ทดแทนการผลิตแบบเดิมด้วยแรงงานคน เพื่อให้สามารถเพิ่มปริมาณการผลิต ลดเวลาและแรงงานในการปอกเปลือกจันทน์เทศ เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตระดับชุมชนเพื่อช่วยทุ่นแรงและลดการใช้แรงงานคน สามารถเพิ่มผลิตและปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน        B508F6F0-A9F4-4944-BF5F-6688CCE9B235        สำหรับเครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศเพื่อการผลิตระดับชุมชน ลักษณะของโครงสร้างทำด้วยเหล็กไร้สนิม มีตัวถังปอกเปลือกที่ผิวด้านในถังเคลือบด้วยหินกากเพชร  มีจานหมุนพาให้ลูกจันทร์เทศหมุนขัดกับผิวด้านในของถัง โดยมีมอเตอร์ขนาด1/2 แรงม้าเป็นต้นกำลัง มีความเร็วรอบประมาณ 200 รอบ/นาที โดยใช้น้ำช่วยในการล้างผิวในขณะที่ทำการอกผิวผลจันทร์เทศ สามารถผลิตได้ครั้งละ 4-5 กิโลกรัม กำลังการผลิตประมาณ 40 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เป็นเครื่องจักรที่สามารถช่วยลดขั้นตอนทำงานและลดการใช้แรงงานได้ ใช้งานสะดวกและบำรุงรักษาได้ง่าย           

       สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.พงษ์พันธ์ ราชภักดี อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช   . ทุ่งสง.นครศรีธรรมราช เบอร์โทรศัพท์ 081-798-0923

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=63033

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us