|

ม.อ. จับมือ กฟผ. MOU พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าของภาคใต้

BDD4C08A-2439-4F1D-9261-378B5CC766CB

คณะวิศวกรรมศาสตร์ .. ผนึกกำลัง กฟผ. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จับมือ กฟผ. พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าของภาคใต้ ตั้งเป้านำทฤษฎีออกไปประยุกต์ใช้ได้จริง

วันนี้ (10 .. 63) ที่ ห้องประชุมดงยาง 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ .หาดใหญ่ .สงขลา ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย นายเริงชัย คงทอง รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โดยตั้งเป้าหมายนำทฤษฎีออกไปประยุกต์ใช้ได้จริง เพื่อการพัฒนาภาคใต้พร้อมมุ่งเน้นส่งเสริมงานวิจัยเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าของภาคใต้ โดยใช้งานวิจัยแก้ไขปัญหาและพัฒนางาน โดยมี ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย นายผล ขวัญนุ้ย ผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้ (กฟผ.) ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้

6FF1CD0F-F19A-4AA8-BD6F-E003FDBD80C5

ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า .. ยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือกันในครั้งนี้ โดย MOU ฉบับนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่ .. ได้ทำร่วมกับ กฟผ. เพราะมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานและสถาบันการศึกษาที่มียุทธศาสตร์มุ่งเน้นการทำวิจัยเชิงรุก และมีความพร้อมในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการสร้างกลุ่มวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อให้สอดคล้องและสามารถแก้ปัญหาของประเทศ มุ่งเน้นการสนับสนุนทุนและบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงเป็นโอกาสอันดีของการสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยของ .. และ กฟผ. ได้สร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน และเพิ่มขีดความสามารถในการทำวิจัยของบุคลากร ซึ่งหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 2 หน่วยงาน จะได้นำผลงานวิจัยต่างๆ ไปประยุกต์ใช้งานให้ตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคมในพื้นที่ภาคใต้ สร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนางานวิจัยให้มีความเป็นเลิศในสาขาที่มีความพร้อมโดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีศักยภาพของคณาจารย์ ทีมนักวิจัยที่การถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมจากการต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรม

DE58F9AF-5E70-4B6F-A8B6-6B5D034373D0

ด้าน นายเริงชัย คงทอง รองผู้ว่าการระบบส่ง (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนางานด้านการวิจัย ด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่และเห็นว่าในพื้นที่ภาคใต้มีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยหลักมีรากฐานในงานด้านวิศวกรรมมาเป็นเวลานาน มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นจำนวนมาก เหมาะสมที่จะนำความรู้ความสามารถของบุคลากรมาทำการวิจัยในปัญหางานที่เกิดขึ้นในระบบการผลิตและระบบส่งของ กฟผ. ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้ารวมไปถึงการพัฒนาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่มี ให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงสุด เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความมั่นคงในระบบไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม และสังคมโดยรวม โดยตั้งแต่ปี 2551 กฟผ. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่ .. ไปแล้วรวม 16 โครงการ เช่น การวิจัยและพัฒนาระบบประชุมสั่งการทางไกลด้วยมัลติมีเดียผ่านเว็บสำหรับสถานีไฟฟ้าแรงสูงโครงการบ้านปลาปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าพื้นที่นำร่องจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส โครงการศึกษาวิจัยการใช้ปะการังเทียมเพื่อบูรณะทรัพยากรใช้ฟังกรณีศึกษาใช้ฟังทะเลอำเภอเทพา ฯลฯ นอกจากทุนวิจัยแล้ว กฟผ. ยังสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอน รวมไปถึงบุคลากรและเปิดให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถทำวิจัยเข้าดูงานฝึกงานในโรงไฟฟ้า และสถานที่ต่างๆ ของ กฟผ. เพื่อให้เกิดความรู้เชิงประจักษ์ พร้อมทั้งสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ ของ .. อีกด้วย

E205420A-25DA-4422-9F40-F8FBAE927E53

ขณะที่ รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ดำเนินงานวิจัยร่วมกับ กฟผ. พร้อมได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมทางวิชาการและกิจกรรมที่สร้างประโยชน์กับสังคมท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานวิจัยหรือศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดในระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า และระบบส่งกำลังไฟฟ้าของ กฟผ. เป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เช่น การพัฒนาระบบการเก็บเกี่ยวพลังงานไฟฟ้าจากสายส่งเพื่อใช้เป็นพลังงานให้แก่ระบบมอนิเตอร์สายส่ง การพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับมอนิเตอร์หม้อแปลงและสถานีไฟฟ้าแรงสูงเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า เป็นต้น โดยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้จึงเป็นความร่วมมือต่อเนื่องของการพัฒนาบุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงาน สร้างโอกาสทางการศึกษาในงานวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าและนำความรู้ด้านวิศวกรรมไปสร้างประโยชน์ให้แก่ทั้ง 2 หน่วยงาน รวมถึงชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคมโดยรวม สามารถพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ เสริมสร้างขีดความสามารถการบูรณาการด้านการวิจัยและพัฒนา เสริมสร้างองค์ความรู้และเปลี่ยนความรู้เพิ่มพูนความรู้ที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจร่วมกันเสริมสร้างให้ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม ปฏิบัติการ ด้านเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในภาคใต้ต่อไป

252B5686-4ECE-4AD2-9843-9849C72EAEDF774ED2B2-DA14-4554-ABA9-0955BB42496585639852-8D24-4E91-8F52-A61353214A9F0DF846F5-A90B-4838-B3CF-FD52B03DE8FEF2C0AA09-2C94-4EA5-87D2-EAF46C684184D60557E4-A95D-43BD-8908-532B1D3C5888

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=58305

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us