|

“วัสดุรีไซเคิลครัวเรือน สู่กองทุนเพื่อสาธารณะประโยชน์ของชุมชน”

FF418B4F-F6AB-47FD-BD3B-A7B183E20960มูลนิธิโคคาโคลา องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด(มหาชน) ร่วมกับชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และชุมชนทั้ง 18 หมู่บ้านของอำเภอเกาะยาว ผู้ประกอบการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลในพื้นที่ร่วมจัดโครงการเกาะยาวสะอาดได้ด้วยมือเราภายใต้โครงการการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทย : ปฏิบัติการภาคประชาชนสู่การปรับเปลี่ยนเชิงนโยบาย

           เมื่อวันที่ 20กรกฎาคม 2565 มูลนิธิโคคาโคลา องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด(มหาชน) ร่วมกับชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และชุมชนทั้ง 18 หมู่บ้านของอำเภอเกาะยาว ผู้ประกอบการรับซื้อวัสดุรีไซเคิล พื้นที่อำเภอเกาะยาว แพโชคเกาะยาวขนส่ง และวงษ์พาณิชย์กระบี่ สาขาเหนือคลอง จัดโครงการเกาะยาวสะอาดได้ด้วยมือเราภายใต้โครงการการจัดการขยะพลาสติกในประเทศไทย : ปฏิบัติการภาคประชาชนสู่การปรับเปลี่ยนเชิงนโยบายโดยภายในโครงการฯ ชุมชนทั้ง 18 หมู่บ้านของอำเภอเกาะยาวร่วมมือกันคัดแยกวัสดุรีไซเคิลจากครัวเรือน อาทิ ขวดพลาสติด(PET) ขวดแก้ว กระป๋องอลูมิเนียม กระป๋องสังกะสี และลังกระดาษใส่ถุงตาข่ายและนำมาวางไว้หน้าบ้านของตนเอง เพื่อให้ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อสม. และประชาชนจิตอาสาดำเนินการจัดเก็บจากทุกๆบ้านและนำวัสดุรีไซเคิลไปคัดแยกตามประเภทอย่างถูกต้องเพื่อให้การนำไปจำหน่ายในกระบวนการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลได้ราคาดีที่สุด           0CFA6954-08C2-415A-8859-B93CAAFD0625              กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการบริจาควัสดุรีไซเคิลจากภาคครัวเรือนของชุมชน100% รายได้จากการจำหน่ายวัสดุรีไซเคิลจากทั้ง 18 หมู่บ้านจะถูกมอบให้ส่วนกลางของชุมชนเพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชน อาทิ กองทุน .ขวดดูแลผู้ป่วยของตำบลเกาะยาวน้อย หรือการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ของตำบลเกาะยาวใหญ่ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 18-31 กรกฎาคม 2565 โดยสามารถดำเนินการขนวัสดุรีไซเคิลคืนสู่ฝั่งได้มากกว่า 12 ตัน และมีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ทุกเดือนในพื้นที่ 18 หมู่บ้านของอำเภอเกาะยาว            FBD7EF19-A78D-4B2A-AA09-57408577F446            ซึ่งจากกิจกรรมในครั้งนี้นับว่าสามารถลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ทั้งหมด 11.5 ตัน เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 1,284 ต้น จะเห็นได้ว่า ภาคประชาชนเป็นเสมือนคลื่นที่สำคัญ หากภาคประชาชนให้ความสนใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญในการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลและขยะประเภทต่างๆที่ถูกต้องโดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนที่พฤติกรรมระดับปัจเจกบุคคล ก็จะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมสู่การวางระบบการจัดการขยะภายในชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและการมีข้อตกลงของชุมชนที่ยึดถือร่วมกันก็จะยิ่งสนับสนุนการจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ยั่งยืน

6FB5E9F6-ACB8-45AB-B727-003EE6E8C825

E4385EEA-4AA0-4712-A860-250AF4E7C10D

E60610AA-9E29-4CB4-AB41-6AC2B6546971

19BD1F0F-E607-43F2-BB7D-280343E64154

            

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=74308

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us