|

ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการจัดทำสรุปสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการจัดทำสรุปสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

           เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 นายบุญพาศ รักนุ้ย รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการจัดทำสรุปสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดโดย กองประสานและเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. โรงแรมเซาเทิร์น แอร์พอร์ท หาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา และผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Cloud Meeting โดยมี นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต.  ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองประสานและเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้แทนหน่วยงานภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการขับเคลื่อนงานมิติด้านการพัฒนาและมิติด้านความมั่นคงเข้าร่วมประชุม                    สำหรับการประชุมในครั้งนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจาก พระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ..2553   มาตรา 11 บัญญัติให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำสรุปสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีทุกหนึ่งปี และให้คณะรัฐมนตรีเสนอรัฐสภาเพื่อทราบ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เร่งรัด กำกับ ติดตาม ประเมินผล รวมถึงติดตามความก้าวหน้าของงานตามภารกิจของหน่วยงานรัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยรวบรวมข้อมูลสำคัญ นำมาวิเคราะห์และจัดทำสรุปสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานอำนวยการ ประสานงานพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีกลไกพิเศษ  ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัตินอกเหนือจากกลไกปกติ โดยเฉพาะการจัดประชุมที่ให้ความสำคัญกับทุกภารกิจงานของทุกกระทรวง กรม ในพื้นที่5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเปิดการมีส่วนร่วมกับทุกกระทรวง กรม และภาคส่วนอื่น นอกจากภาครัฐ                  ในการนี้ ที่ประชุมได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ/ขั้นตอน การดำเนินการจัดทำสรุปสถานการณ์ฯ  การเตรียมความพร้อมในการจัดทำเอกสารรายงานสรุปสถานการณ์ฯ .. 2565 รวมทั้งการจัดทำสรุปสถานการณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคส่วนอื่นนอกจากภาครัฐ โดยเฉพาะตัวแทนภาคประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนขององค์การต่างๆ  ที่เข้ามาดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนร่วมกำหนดผู้รับผิดชอบประสานงานและจัดทำข้อมูลสำคัญในการรายงานสรุปสถานการณ์ฯ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อื่นๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในระยะถัดไปจะกำหนดให้มีการประชุมคณะย่อย (Focus Group) เพื่อระดมความคิดเห็นในด้านเสริมสร้างความมั่นคง ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการพัฒนาสังคม ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านการบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคต่างๆ เพื่อรวบรวมและจัดทำเอกสารรายงานสรุปสถานการณ์ฯ ต่อไป

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=79031

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us