|

สสก.5 สงขลา ชี้ปีนี้ยังไม่มีพื้นที่การเกษตรกระทบภัยแล้ง แนะเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลดูแลสวน

IMG-1958

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งใน 14 จังหวัดภาคใต้ เผยยังไม่มีพื้นที่การเกษตรกระทบภัยแล้ง และทุกจังหวัดไม่มีการประกาศภัยแล้ง พร้อมแนะนำเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลดูแลสวนในช่วงฤดูแล้ง

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้งปีนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ยังไม่มีพื้นที่การเกษตรกระทบภัยแล้งและจังหวัดทุกจังหวัดไม่มีการประกาศภัยแล้ง ประกอบกับทางภาคใต้ตอนบน และบางจังหวัดของภาคใต้ตอนล่าง ได้มีฝนตกลงมาบ้างแล้ว และสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัดได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ในเบื้องต้นโดยให้เกษตรกรในพื้นที่ติดตามสถานการณ์ใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า เพื่อเตรียมการป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นขึ้นกับผลผลิตและพื้นที่ทางการเกษตรของตนเอง

นายสุพิท กล่าวอีกว่า ในช่วงฤดูแล้งนี้ สภาพอากาศโดยทั่วไปจะร้อน แห้งแล้ง และอาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่ ซึ่งสภาพอากาศที่ร้อนจัด และการขาดแคลนน้ำนี้ส่งผลต่อการผลิตไม้ผลทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ จึงจำเป็นต้องมีการดูแลให้ไม้ผลได้รับน้ำอย่างเพียงพอ และสม่ำเสมอโดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

1. การให้น้ำ โดยคำนึงถึงการให้น้ำแบบประหยัดที่สุด โดยให้น้ำต้นไม้ผล ภายในบริเวณรัศมีทรงพุ่มเท่านั้น อย่าให้น้ำมากจนไหลแฉะไปทั่วสวน, เปลี่ยนระบบการให้น้ำ โดยการให้น้ำแบบระบบน้ำหยดหรือหัวเหวี่ยงขนาดเล็กจะช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่าการใช้สายยางรดน้ำ และควรให้น้ำครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

2. การใช้วัสดุคลุมดิน โดยคลุมจากโคนต้นไม้ผลจนถึงแนวรัศมีทรงพุ่ม วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ใบไม้แห้งที่ร่วงหล่น ใบตองแห้ง ทางมะพร้าว กาบมะพร้าว หญ้าแห้ง เป็นต้น ซึ่งวัสดุคลุมดินจะช่วยชะลออัตราการระเหยของน้ำจากผิวดินให้ช้าลง และวัสดุเหล่านี้จะค่อยๆ ผุผังเป็นอินทรียวัตถุ ท่าให้ดินร่วนและมีการอุ้มน้ำดีขึ้นกรณีต้นไม้เล็กควรใช้วัสดุช่วยในการพรางแสง เพื่อลดความเข้มแสงร่วมด้วย

3. การตัดแต่งกิ่ง โดยไม้ผลที่เก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูแล้ง หลังการเก็บผลแล้ว ควรทำการตัดแต่งกิ่ง ให้ทรงพุ่มมีความโปร่ง เพื่อลดการระเหยน้ำทางใบ และช่วยให้การออกดอกติดผลในฤดูต่อไป เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม้ผลบางชนิด เช่น ทุเรียน หากประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงการติดผล อาจท่าให้ต้นโทรมและถึงตายได้ หรือมังคุดที่ติดผลแล้ว หากขาดแคลนน้ำ ผลจะมีขนาดเล็ก ก้นผลจีบ คุณภาพไม่ดี จะต้องรีบท่าการตัดทิ้งให้หมด และหาน้ำจากแหล่งอื่นมารดอย่างประหยัดที่สุด

4. การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดตั้งแต่ต้นฤดูแล้ง และใช้เศษวัสดุที่แห้งแล้วมาคลุมโคนต้น แต่ในระยะที่ขาดแคลนน้ำมากๆ ไม่ควรท่าการกำจัดวัชพืชหรือไถพรวนดิน เพราะจะท่าให้ผิวดินแห้งเร็วมากขึ้นอีก

5. การจัดหาแหล่งน้ำ โดยปรับปรุงบ่อน้ำให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และสูบน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงมาเก็บกักไว้ โดยสวนผลไม้ที่อยู่ใกล้ทะเล จำเป็นต้องกักน้ำจืดไว้ เพื่อป้องกันน้ำเค็มที่จะเข้ามาในสวน ตรวจสอบระบบส่งน้ำ ควบคุมอย่าให้น้ำรั่วไหล หากมีผักตบชวา จอก แหน หรือสาหร่าย อยู่ในท้องร่องสวนเป็นจำนวนมาก ควรนำขึ้นมาคลุมบริเวณโคนต้นไม้ผลเพื่อรักษาความชื้นได้

6. การทำแนวกันไฟรอบสวน เพื่อป้องกันไฟไหม้สวน เนื่องจากฤดูแล้งอากาศร้อนจัด และมีใบไม้แห้งมากอาจมีไฟป่าเกิดขึ้นได้

Short URL: http://www.samilatimes.co.th/?p=41000

แสดงความคิดเห็น

Share It

ความคิดเห็นล่าสุด

ข่าวมาใหม่

Find Us